การซ่อมและเสริมกำลัง (Repair & Strengthening)
     
 

    การซ่อมแซมคอนกรีต กระทำเพื่อฟื้นคืนและรักษา ความแข็งแรง และ ความสามารถในการรับน้ำหนัก ตลอดจนลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคาร หรือ โครงสร้างคอนกรีต รวมทั้งเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพต่อของโครงสร้างคอนกรีตอันเนื่องมาจากการผุกร่อนของเหล็กเสริม หรือ จากปัจจัยที่เป็นอันตรายอื่นๆ

    ก่อนทำการซ่อมคอนกรีต สภาพของเนื้อคอนกรีต และโครงสร้างคอนกรีตควรได้รับการตรวจสอบโดยละเอียดในเบื้องแรก เพื่อให้สามารถประเมินระดับความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างได้ รวมทั้งเพื่อทราบถึงสาเหตุในการเสื่อมสภาพของตอนกรีตและโครงสร้าง เมื่อทราบถึงสาเหตุในการเสื่อมสภาพ จะทำให้สามารถทำการฟื้นคืนและรักษาความแข็งแรงของโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เหมาะสม และทำให้สามารถหยุดยั้งการเสื่อมสภาพที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ ในบางครั้งการรักษาสภาพและความแข็งแรงของโครงสร้างไม่สามารถกระทำได้โดยใช้เพียงแต่การปะป้ายวัสดุทางวิศวกรรม ( เช่น EPOXY) แต่เพียงลำพัง ซึ่งแม้ว่าการเลือกชนิดวัสดุและขั้นตอนการทำงานจะได้กระทำอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้วก็ตาม ในหลายๆกรณีการเสริมเพิ่มเติมความแข็งแรงเป็นสิ่งที่จำเป็น รวมทั้งระบบที่จะนำมาใช้หยุดยั้งการผุกร่อน เป็นสนิม ของเหล็กเสริมภายใน และ ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นเหล็กหรือโลหะต่างๆ

   การเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีต ( โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง) และ โครงสร้างเหล็กนั้นจะกระทำเพื่อ เพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง (เพื่อให้แบกรับน้ำหนักได้มากขึ้น หรือ เพื่อเพิ่มค่าส่วนต่างความปลอดภัยที่เหลืออยู่หลังรับน้ำหนัก) หรือเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมของโครงสร้าง เช่น ลดการแอ่นตัว, ลดการเคลื่อนหรือแกว่งตัว
การเสริมกำลังโครงสร้างด้วยวัสดุ COMPOSITE MATERIALS มีข้อได้เปรียบเหนือวิธีการเสริมกำลังแบบดั้งเดิม (เช่น การเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของโครงสร้างส่วนต่างๆ) เนื่องมาจากการติดตั้ง วัสดุและการทำงานที่ทำได้สะดวก และมีการรบกวนการใช้งานอาคารหรือโครงสร้างในระดับที่ต่ำมากๆ ตลอดจนประสิทธิภาพที่สูงของวิธีการเสริมกำลังดังกล่าว ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก ตลอดจนความแข็งแรงของโครงสร้างได้มาก ด้วยการติดชั้นบางๆของวัสดุ COMPOSITE MATERIALS ไปยังส่วนต่างๆของโครงสร้าง คุณสมบัติที่ดีของระบบการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยวัสดุ COMPOSITE MATERIALS อีกอย่างหนึ่งก็คือการที่วัสดุดังกล่าวจะไม่เกิดการผุกร่อน หรือ เป็นสนิม

   การเสริมกำลังโครงสร้างเดิมที่มีอยู่ด้วยวัสดุ COMPOSITE MATERIALS นี้ จำเป็นต้องอาศัยทักษะ และ ประสบการณ์ที่สูง ทั้งในขั้นตอนของการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมโครงสร้าง และ ในขั้นตอนการออกแบบเพื่อเสริมกำลัง ตลอดจนในขั้นตอนของการทำงานและติดตั้งวัสดุ มิฉะนั้นอาจทำให้ระบบการเสริมกำลังที่ติดตั้งไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม หรืออาจไม่ทำงานเลย และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด โครงสร้างอาจเกิดการวิบัติแบบฉับพลันเมื่อรับน้ำหนักถึงระดับสูงสุด โดยไม่มีการแสดงสัญญาณใดๆเตือนล่วงหน้าเลย

   ทั้งนี้ในกรณีที่สามารถทำได้นั้น เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะทำการทดสอบโครงสร้างทั้งก่อนและหลังการเสริมกำลัง ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลถึงสภาพของโครงสร้างทั้งก่อนและ หลังการเสริมกำลัง ข้อมูลสภาพของโครงสร้างก่อนการเสริมกำลังจะนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม และในขั้นตอนการออกแบบเพื่อเสริมกำลังโครงสร้าง ซึ่งจะทำโดยความช่วยเหลือของโปรแกรมทางด้านงานวิศวกรรมโครงสร้าง